ปลวก

ความรู้เกี่ยวกับปลวก

     ปลวกเป็นแมลงชนิดหนึ่ง มีชีวิตอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า เรียกว่า “แมลงสังคม” ปลวกเป็นศัตรูสำคัญต่อ เศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำความเสียหายอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง พืชสวนและพืชไร่ต่างๆ ในประเทศไทยมีมากกว่า 90 ชนิด และทั่วโลกประมาณ 2000 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความเป็นอยู่และความต้องการอาหารที่แตกต่างกัน กล่าวว่าปลวกเป็น “แมลงสังคม” ซึ่งจะประกอบด้วยวรรณะ 3 วรรณะดังนี้

วรรณะปลวกสืบพันธุ์ : คือปลวกตัวเมีย ในรับปลวกจะพบปลวกชนิดนี้ ทำหน้าที่ผสมพันธุ์และขยายพันธ์ เราเรียกปลวกคู่นี้ว่า ราชาปลวก(king) และราชินีปลวก(queenนอกจากนี้ยังมีปลวกสืบพันธุ์สำรอง ซึ่งช่วยสิบพันธุ์กรณีราชาปลวกหรือราชินีตาย “แมลงเม่า” เป็นปลวกในระยะที่มีปีก เมื่อโตเต็มที่จะบินออกนอกรังเพื่อจับคู่ผสมพันธุ์ แล้วสลัดปีกเลือกหาสถานที่เหมาะสมเพื่อสร้างรังและเกิดเป็นอาณาจักรใหม่ต่อไป

วรรณะปลวกงาน : เป็นปลวกตัวเล็กไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา มีหน้าที่ก่อสร้างรัง หาอาหารมาเลี้ยงปลวก วรรณะอื่นๆในรังและจะทำงานทุกอย่างในรัง

วรรณะปลวกทหาร : เป็นปลวกตัวเล็ก แต่มีหัวโต โดยที่ขากรรไกรจะขยายใหญ่ขึ้นเพื่อใช้ทำหน้าที่เป็นอาวุธต่อสู้ศัตรู ปลวกชนิดนี้ไม่มีปีก ไม่มีเพศ ไม่มีตา มีประมาณ 10% ของรัง

 

การขยายอาณาจักรปลวก เมื่อถึงฤดูกาลที่เหมาะสม “แมลงเม่า” จะบินออกจากรังในเขตร้อน และจะบินออกจากรังช่วงหลังฝน เมื่อแต่ละคู่ผสมพันธุ์กันแล้วจะสลัดปีก แล้วเลือกหาสถานที่ที่เหมาะสมเพื่อสร้างรังใหม่ ซึ่งแมลงเม่าคู่นี้ คือ ราชาปลวกและราชินีปลวก ของรังนั้นๆ เอง ซึ่งแต่ละรังหรืออาษรจักรจะมี ราชาปลวกและราชินีปลวกเพียง 1 คู่ เท่านั้น เมื่อหาสถานที่ได้แล้ว ภายใน 2 -3 วัน จะเริ่มวางไข่ครั้งแรกๆ จะออกไข่ไม่กี่ฟอง แต่จะเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆ ตลอดอายุของมัน ไข่จะฟักตัวอ่อนภายใน 30 – 50 วัน ซึ่งไขที่ฟักออกมาจะเป็น ปลวกงานเป็นจำนวนมากกว่าปลวกชนิดอื่นๆ ทั้งหมด ปลวกที่มีอายุยืนยาว อาจมีไข่มากกว่า 30,000 ฟองต่อวัน

 

การดำรงชีวิตของปลวก 

                  อาหารของปลวก คือ สารเซลลูโลส ซึ่งเป็นแป้งชนิดหนึ่งที่อยู่ในเนื้อไม้ ซึ่งสารชนิดนี้จะถูกย่อยโดย โปรโตซัว ที่มีอยู่ในลำไส้ของมัน

                      ทำไมปลวกชอบความชื้น เนื่องจากผนังลำตัวของปลวกเป็นเนื้อเยี่อที่บอบบางมาก จึงจำเป็นต้องอาศัยความชื้นในการดำรงชีวิต การป้องกันและกำจัดปลวก วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนี่งคือ การใช้สารเคมี ควารเลือกสารเคมีที่มีฤทธิ์คงทนอยู่ในดินได้นาน และมีความปลอกภัยสูงต่อคน สัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อม และควรเป็นสารเคมีที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักคณะกรรมการ อาหารและยากระทรวงสาธารณสุขแล้วเท่านั้น การป้องกันและกำจัดปลวกด้วยสารเคมี มีอยู่หลายวิธีเช่น การใช้สารเคมีชนิดสารละลาย สูตร EC หรือ SC, การใช้สารเคมีชนิดผงการใช้แก๊สการสร้างแนวป้องกันปลวกก่อนการก่อสร้าง

                      เมื่ออาคารอยู่ระหว่างการก่อสร้าง การปฏิบัติควรทำให้เสร็จสิ้นภายในเวลาเดียวกัน ถ้ามีการเพิ่มเติม ควรมีการปฏิบัติซ้ำอีก เพื่อให้แน่ใจว่าการฉีดสารเคมีครอบคลุมทุกจุดของพื้นที่ก่อสร้าง ไม่มีการละเว้นจุดใดหรือมุมใดของอาคาร เพราะถ้าละเว้น อาจเป็นจุดหรือทางผ่านของปลวกเข้าสู่อาคารได้ หลังการก่อสร้างโดยการเจาะพื้นอาคารแล้วอัดสารเคมีลงไปให้ครอบคลุมทุกพื้ันที่ ของใต้อาคารด้วยสารเคมีทั้งหมดเช่นกัน

เกร็ดความรู้บ้านปลอดปลวก

                 ความจริงแล้ว เจ้าปลวกที่ว่านี้ มันมิได้พิสมัยอะไรกับไม้แม้แต่น้อย แต่เป็นเพราะ เซลลูโลส (Cellulose) ใน เนื้อไม้ต่างหากที่เป็นอาหารอันโอชะของปลวก ดังนั้นไม่เพียงแต่ไม้ที่จะต้องผุพังกลายเป็นกากอาหารของปลวก แต่ยังรวมไปถึงอะไรก็ตามที่มีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบอยู่ เช่น กระดาษผ้าหนังสัตว์ พรหม หนังสือ ฯลฯ และวัสดุหรือเครื่องใช้ภายในบ้านอีกหลายสิบชนิดที่หาพบได้ในบ้านพักอาศัย ทั่วๆ ไปศัตรูร้ายจากใต้ดิน ปลวกที่จัดว่าเป็นศัตรูร้ายสำหรับบ้านเรือนของเราก็คือ ปลวกใต้ดิน (Sub-Terranean Termites) พวกนี้ถือเป็นศัตรูโครงสร้าง (Structural Pests) ที่ทำความเสียหายสูงสุด ถึง 95% ของความเสียหายทั้งหมดก็ว่าได้ อาณาจักรของปลวกพวกนี้จะอยู่ใต้ดิน อาศัยอยู่ร่วมกันตามแบบฉบับของสัตว์ที่เรียกว่า แมลงสังคม” ซึ่งในรังปลวกใต้ดินจะเต็มไปด้วยประชากรปลวกนับแสนนับล้านตัว แบ่งแยกหน้าที่กันเป็นวรรณะต่างๆ (ทำงานเป็นทีมเวิร์คครับ)ปลวกนางพญาและราชา : ทำหน้าทีวางไข่เพิ่มประชากรในรังของมัน

•             ปลวกทหาร: ทำหน้าที่ต่อสู้ศัตรูผู้บุกรุก

•             ปลวกงาน: ทำหน้าที่หาอาหารสร้าง , ซ่อม ขยายรังและทางเดิน

•             ปลวกขยายพันธุ์: ทำหน้าที่ขยายพันธุ์ เราเรียกกันว่าแมลงเม่า หรืออาจกล่าวได้ว่าวงจรชีวิตของปลวกใต้ดินนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากแมลงเม่า

                วิธีรบกับปลวกและการป้องกันปัจจุบัน วิธีการรบที่นิยมคือ การป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ คือการกำจัดแหล่งสร้างรัง อันเป็นฐานทัพใหญ่ของปลวก และทำลายทางขึ้นลงหรือเส้นทางลำเลียงพล พร้อมกับการสร้างแนวป้องกัน สำหรับการบุกรุกใหม่ในอนาคต ส่วนการที่เราจะไปคิดแก้ปัญหาที่ต้นตอด้วยการสร้างบ้าน โดยใช้วัสดุที่ไม่มีเซลลูโลสของโปรดของปลวกนั้น ดูจะลำบากครับ เพราะต้องควบคุมตั้งแต่การก่อสร้างตั้งแต่แรกเริ่ม ถึงแม้ปัจจุบันจะมีไม้เทียมหรือใช้คอนกรีต แต่วิธีการก่อสร้างยังคงใช้ไม้แบบกันอยู่ (เจ้าตัวนี้แหละครับ เหยื่อล่อปลวกเข้าบ้าน)สำหรับการป้องกันกำจัดปลวกอย่างถูกวิธีนั้นเราควรทำตั้งแต่

•             ก่อนก่อสร้าง โดย อัดเคมีลงดิน ให้รอบแนวคานด้านใน-นอก และฉีดเคลือบผิวดินในทุกๆ ตารางนิ้ว รวมทั้งสเปยร์เคมีออกไปโดยรอบของตัวอาคาร 1 เมตรและบริเวณที่มีความชื้นสูง

•             การราดน้ำยาผ่านระบบท่อใต้อาคาร (ลักษณะ นี้ต้องทำตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง) ระบบท่อจะเดินตามคานและเจาะรูที่ท่อเป็นระยะๆ แต่ท่อจะไม่สัมผัสกับดินเรื่องจากอาจจะทำให้ท่ออุดตันได้ ซึ่งระบบนี้จะสะดวกสบายกว่า เพราะไม่จำเป็นต้องเข้าไปในตัวบ้าน ไม่ต้องทุบพื้น เจาะบ้านเป็นรูเพื่ออัดน้ำยาให้ตัวบ้านหลังจากอัดน้ำยาในครั้งแรกหมดอายุ

•             ในกรณีที่ไม่ได้เตรียมท่อน้ำยาไว้ตั้งแต่แรก ต้องเจาะรูขนาด 5/8 นิ้ว ให้ทะลุพื้นจนถึงชั้นดินรอบแนวคานทั้งด้านในและนอก แต่ละจุดห่างกันประมาณ 1 เมตร

•             ฉีดเคมีเคลือบโครงไม้ โดย ให้ซึมเนื้อไม้เน้นตามรอยเลื่อนรอยต่อ เป็นการป้องกันการเกิดขึ้นใหม่ของปลวก มอด ด้วง และเชื้อราต่างๆด้วย ควรเลือกไม้ที่นำมาก่อสร้างที่มีความทนทางต่อการทำลาย เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้แดง ไม้ชิงชันและไม้ประดู่ (ข้อนี้ขึ้นอยู่กับงบประมาณในกระเป๋าครับ) แต่ถ้าใช้ไม้เนื้ออ่อน ควรทำการอาบน้ำยาป้องกันเสียก่อน

ข้อแนะนำเพิ่มเติม

•             ไม่ควรปลูกต้นไม้ใหญ่ไว้ใกล้บ้าน เพราะปลวกจะอาศัยรากไม้เข้ามาในบ้านได้

•             พยายามป้องกันไม่ให้แมลงเม่าบินเข้ามาภายในบ้าน เพราะแมลงเม่าคือปลวกเจริญพันธุ์ เมื่อเข้ามาจะทำรังและวางไข่กลายเป็นปลวกได้ครับ

                ที่ เขียนมาข้างต้น ก็เป็นการป้องกันและดูแลบ้านเราให้รอดพ้นจากภัยจากปลวก ศัตรูตัวฉกาจที่ไม่ว่าบ้านใครก็ไม่อยากเจอะเจอกับมัน เพราะจะเกิดความเสียหายอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทันระวัง อย่างไรก็ดีไม่มีสารเคมีหรือวิธีการใดๆ ที่จะจัดการกับเจ้าแมลงร้ายนี้ได้อย่างสิ้นเชิง ดังนั้นการหมั่นตรวจสอบและดูแลบ้านอยู่เสมอจะเป็นการดีที่สุดครับ